0921045555

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย

พบเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.1725-1729 หลักฐานที่พบเป็นศิลาจารึกของอาณาจักรขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พบการสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า “อโธคยาศาล” ทั้งหมด 102 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ภายในมีเจ้าหน้าที่ ซึ่งประกอบไปด้วย หมอ พยาบาล และเภสัชกรที่ทำหน้าที่จ่ายยารวมทั้งหมด 92 คน อีกทั้งยังมีการทำพิธี “พระพุทธไภศัชย์คุรุไวฑูรย์” ด้วยอาหารและยา ก่อนจะนำเอายาไปแจกให้กับชาวบ้าน

ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย

“ตำราพระโอสถพระนารายณ์”

เป็นตำรายาฉบับแรกของไทย

ตำราพระโอสถพระนารายณ์ เป็นตำราที่ว่าด้วยโอสถพระนารายณ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 กล่าวถึงความผิดปกติของธาตุทั้ง 4 ในร่างกายและวิธีการใช้ยาแก้

ส่วนที่ 2 กล่าวถึงตำรับยาต่าง ๆ

ส่วนที่ 3 กล่าวถึงตำรับยาจากน้ำมันและยาขี้ผึ้ง

สวนสรรพยา

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีการอนุรักษ์ป่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติอันดับที่ 18 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2523   มีเนื้อที่ประมาณ 341 ตารางกิโลเมตร หรือ 213,215 ไร่ ในสมัยก่อนเรียกป่านี้ว่า “ป่าเขาหลวง” หรือ “เขาสรรพยา”  ตั้งอยู่ในอำเภอคิรีมาศ อำเภอบ้านด่าน และอำเภอลานหอย จังหวัดสุโขทัย สถานที่นี้ปรากฏหลักฐานในหลักศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งจารึกไว้ว่า “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎี พิหาร ปู่ครู อยู่ มีสรีดภงส์ (ทำนบกั้นน้ำโบราณ) มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทวดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ถูก พลีบ่ถูก ผีในเขาอันบ่คุ้ม บ่เกรง เมืองนี้หาย แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีผีคอยปกปักรักษาเมือง และมีการเล่าขานกันมาว่าพระร่วงเจ้าผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ได้กล่าวให้สถานที่นี้ เป็นแหล่งสมุนไพรสำหรับชาวบ้าน

ประวัติการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคในประเทศไทย

การแพทย์แผนไทยสมัย รัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 ทรงจัดตั้งกรมหมอและโรงพระโอสถเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา มี “หมอหลวง” เป็นแพทย์ที่รับราชการ และ “หมอราษฎร (หมอเชลยศักดิ์)”

สมัย รัชกาลที่ 2 ถึงรัชการที่ 8  ทรงได้ทำนุรักษาศาสตร์แห่งแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด มีช่วง ร.6 ที่มีหลักฐานไม่ชัดเจนด้านการแพทย์แผนไทย แต่ ร.7 และ ร.8 ก็ทรงฟื้นฟูกับมาอีก สมัยรัชกาลที่ 9  ทรงได้ทำนุรักษาศาสตร์แห่งแพทย์แผนไทยตำราและยาสมุนไพรต่าง ๆ ได้รับการฟื้นฟู ในปี พ.ศ.2500 มีการจัดตั้งสมาคมให้กับโรงเรียนการแพทย์แผนโบราณ ณ วัดโพธิ์ โรงเรียนที่มี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) เป็นผู้ก่อตั้ง ภายในมีการเรียนการสอนด้านแพทย์แผนโบราณ ทั้งวิชา          เภสัชกรรม, การผดุงครรภ์ไทย, เวชกรรม และการนวดแผนไทย ตามกระแสรับสั่งของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก่อนที่สมาคมจะค่อย ๆ กระจายแตกสาขาออกไปมากมาย

ปัจจุบัน ศาสตร์แห่งแพทย์แผนไทยได้ถูกควบคุมและดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมีองค์กรนิติบุคคลที่ชื่อว่า สภาการแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดูแลโดยตรง ทั้งการสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพ การออกใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพ การออกใบอนุญาตการเปิดการเรียนการสอนแพทย์แผนไทย ตลอดจนออกมาตรการควบคุมดูแลมาตรฐานแห่งวิชาชีพ และออกกฎหมายควบคุมชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา